เจ้าช้าง ณ หยองห้วย เจ้าฟ้าติดดิน

ฉบับนี้ขอแนะนำให้รู้จัก เจ้าช้าง ณ หยองห้วย ทายาทของเจ้าส่วยไต (แต๊ก) เจ้าฟ้าไทยใหญ่ ผู้ปกครองเมืองหยองห้วย รัฐฉานประเทศพม่า และเป็นประธานาธิบดีคนแรกของสหภาพพม่า หลังจากได้ รับเอกราชเมื่อปี ค.ศ. 1948 มารดาของเจ้าช้างคือ มหาเทวี เฮือนคำ หรือที่คนไทยใหญ่เรียกว่า เจ้านางเฮือนคำ บุตรสาว ของเจ้าฟ้าขุนส่าง ต้นฮุง จากเมืองแสนหวีแห่งรัฐฉาน


เจ้าช้างมีชื่อเรียกหลายชื่อ ชื่อเรียกเป็นทางการ ในแวดวงเจ้าฟ้าไทยใหญ่ คือ “เสือเดือนฟ้า” ชื่อเรียกขณะ เป็นนักศึกษาอยู่ในต่างประเทศ คือ“Eugene Thaike” ชื่อขณะเป็นนักรบอยู่ในป่ามีสองชื่อ คือ “เสือหว่าย” หรือ “ขุนลุ่มฟ้า” แต่ชื่อที่คนรู้จัก มากที่สุด คือ เจ้าช้าง

เกิดเมื่อวันที่ 26 เมษายน ค.ศ. 1939 ที่หอหลวงหยองห้วย (วังเจ้าฟ้าไทยใหญ่) รัฐฉาน ภาคตะวันตกเฉียงใต้ ใกล้กับทะเลสาปอินเล สถานที่ท่องเที่ยว ชื่อดังของประเทศพม่า มีพี่น้อง 6 คน (ในวงเล็บ คือชื่อเล่น) คือ เจ้าเสือขันฟ้า (เสือ) เสือเดือนฟ้า (ช้าง) เจ้าหญิงสีดา(เจ้าหญิง) เจ้าเสือห่มฟ้า (หมี) เจ้าเสือ หาญฟ้า(หาญ) เจ้าหญิงรัตนาแสงลืน (ลืน)

เจ้าช้างจบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาภาษา อังกฤษและประวัติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยย่างกุ้ง ปริญญาโท-เอก สาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย British Columbia, Canada คู่สมรสคือนางนุนุมิ้นชาวเมืองเชียงตุง และมีบุตรสองคนคือ เจ้าอุงฟ้า อายุ 32 ปีเป็นจิตรกร และเจ้าหญิงอรจณา อายุ 25 ปี

เนื่องจากบิดาและมารดาของเจ้าช้างเป็นบุคคลสำคัญ ของชาวไทยใหญ่ โดยบิดาเป็นผู้ปกครองเมืองหยองห้วย ซึ่งถือเป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเมืองหนึ่งในรัฐฉาน และได้รับการเลือกตั้งให้เป็นประธานาธิบดีคนแรกของ สหภาพพม่า (บิดาของเจ้าช้างถูกผู้นำทหารพม่าซึ่งทำ การปฏิวัติจับตัวไปขังและเสียชีวิตไปอย่างลึกลับในคุกหลัง จากรับตำแหน่งประธานาธิบดีได้ไม่นาน) รวมทั้งมารดา เป็นผู้นำก่อตั้งกองกำลังกู้ชาติไทยใหญ่ในยุคต้น ๆ เจ้าช้างจึงมี โอกาสได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองของชาว ไทยใหญ่มาโดยตลอด

ในปี 1961 ขณะที่เจ้าช้างอายุได้เพียง 22 ปี ได้เข้าร่วมจัดตั้งแนวร่วมนักศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ (Nationalities Students United Front) อีกหนึ่งปีต่อมา นายพลเนวิน เผด็จการ ทหารพม่าได้ทำการรัฐประหาร เจ้าส่วยไต บิดาของเจ้าช้าง ถูกจับขังและเสียชีวิตลงในเรือนจำโดยไม่ทราบสาเหตุ รวมทั้ง เจ้าหมีหรือ เจ้าเสือห่มฟ้า ผู้เป็นน้องชายก็ถูกฆ่าตายขณะที่ ทหารมาจับกุมบิดา ส่งผลให้ในอีกหนึ่งปีต่อมาปี 1963 เจ้าช้างได้ตัดสินใจเข้าร่วมกองทัพเอกราชรัฐฉาน (SSIA) โดยได้รับการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนไปเจรจากับผู้นำพม่า แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ

นับตั้งแต่ปี 1964 จนถึงปี 1976 เจ้าช้างได้เข้ามา เกี่ยวข้องกับขบวนการกู้ชาติไทยใหญ่อย่างเต็มที่และได้รับตำแหน่ง สำคัญในกองทัพไทยใหญ่มาโดยตลอด อาทิ ได้รับแต่งตั้งเป็น เสนาธิการของกองพลน้อยที่หนึ่ง หลังจากจัดตั้งกองทัพรัฐฉาน (Shan State Army)เป็นเสนาธิการกองทัพรัฐฉาน เป็นผู้บังคับบัญชา กองพลที่หนึ่ง ร่วมจัดตั้งพรรคก้าวหน้ารัฐฉาน(Shan State Progress Party)ในช่วงปี 1972เจ้าช้างได้ติดต่อเชิญนักข่าวอังกฤษไปทำ สารคดีในรัฐฉาน โดยหวังจะได้รับการช่วยเหลือในการต่อสู้กับ ทหารพม่า

หลังจากที่สหรัฐตัดสินใจช่วยเหลือพม่า ทำให้แผนการที่ วางไว้ล้มเหลว และSSA ได้เข้ารวมกับ CPB (พรรคคอมมิวนิสต์ แห่งพม่า) เพื่อช่วยเหลือด้านอาวุธ กระสุน โดยมีเงื่อนไขว่าต้องอยู่ ภายใต้การนำของ CPB

ในช่วงปี 1975 กองกำลังไทยใหญ่เริ่มประสบปัญหา ด้านการเงินในการจัดซื้ออาวุธ กองกำลังส่วนใหญ่ได้ตัดสินใจรวม กับพรรคคอมมิวนิสต์พม่า หรือ CPB (Communist Party of Burma) เพื่อขอความช่วยเหลือดังกล่าว แต่กองกำลังไทยใหญ่ที่แยกตัว ออกไปนี้จะต้องทำงานภายใต้การนำของ CPB ทำให้เกิด ความแตกแยกระหว่างนักรบไทยใหญ่ด้วยกัน ส่งผลให้ในปี 1976 เจ้าช้างถูกกดดันให้ลาป่วยและยุติการเข้าร่วมกับกองทัพไทยใหญ่

หลังจากนั้นเจ้าช้างจึงเริ่มหันมาทำงานเชิงวิชาการอย่างจริงจัง โดยในปี 1984 โดยเขียนหนังสือเรื่อง “The Shan of Burma” ซึ่งเป็นประวัติศาสตร์ชาวไทยใหญ่ตั้งแต่ยุคอดีตเกี่ยวเนื่องมา จนถึงยุคเริ่มต้นขบวนการกู้ชาติไทยใหญ่จนถึงยุคที่เจ้าช้าง ตัดสินใจยุติการทำงานด้านการทหารกับกองกำลังกู้ชาติไทยใหญ่

ในปี1985 เจ้าช้างได้ย้ายไปอยู่ที่ประเทศแคนาดากับ มารดา อีก 9 ปีต่อมา ในปี 1996 ได้ร่วมทำการเคลื่อนไหว ทางการเมือง โดยจัดตั้งสหภาพประชาธิปไตยไทยใหญ่ (SDU) และวางหลักการ Common Goal, Diverse Action /Unity in Diversity ต่อมาในปี 1999 ได้ร่วมจัดตั้ง National Reconciliation Program โดยมีเจ้าหาญ ณ หยองห้วย ผู้เป็นน้องรับตำแหน่ง เป็นผู้อำนวยการ

ต่อมาในปี 2001 ได้ร่วมจัดตั้งคณะกรรมการเอกภาพ และความร่วมมือของกลุ่มชาติพันธุ์ (Ethnic Nationalities Solidarity and Cooperation Committee หรือ ENSCC) เพื่อที่จะ ประสานงานกับทุกกลุ่ม โดยมีเป้าหมายให้มีการเจรจากันสามฝ่าย โดยล่าสุดปีนี้ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น Ethnic Nationalities Council หรือ ENC ภายใต้การนำของซอบ๊ะธิน ผู้นำสหภาพกะเหรี่ยง หรือ KNU แต่ชุดปฏิบัติการของ ENC ยังคงใช้ชื่อ ENSCC ภายใต้การนำ ของเจ้าช้าง

ปัจจุบันชื่อเสียงของเจ้าช้างเป็นที่รู้จักและยอมรับในความคิด ของท่าน ทั้งในแวดวงนักวิชาการเรื่องพม่า ไทยใหญ่ รวมทั้งกลุ่ม ชาติพันธุ์ที่ไม่ใช่พม่า ส่วนแวดวงของรัฐบาลทหารพม่าท่านเป็น เสมือนหนามยอกอกที่คอยวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของฝ่าย รัฐบาลทหารได้อย่างบาดลึก โดยเฉพาะเรื่องนโยบายต่างๆที่ เกี่ยวข้องกับกลุ่มชาติพันธุ์ที่มิใช่พม่า

ด้านบุคลิกส่วนตัวของเจ้าฟ้าไทยใหญ่ท่านนี้ ได้รับการ กล่าวขานว่าท่านเป็นเจ้าฟ้าที่ไม่ถือเนื้อถือตัว แม้ในช่วงที่ระบอบ เจ้าฟ้าในรัฐฉานยังไม่ได้ถูกประกาศยกเลิก ท่านก็ทำตัวเหมือน ไพร่ฟ้าสามัญชน โดยเคยมีคนเล่าให้ฟังว่า ในช่วงทศวรรษที่1960 ท่านมักออกไปจ่ายตลาดด้วยตนเอง โดยใส่เพียงเสื้อกล้ามปอน ๆ แล้วยังทำกับข้าวเลี้ยงชาวบ้านละแวกนั้น จนหลายคนที่ไม่เคยเจอ ท่านมาก่อนคิดว่าท่านเป็นคนสามัญชน ดังนั้นคงไม่เกินเลยไปนัก หากจะยกย่องให้ท่านเป็น “เจ้าฟ้าติดดิน”

สาละวินโพสต์ ฉบับที่ 15 (16 พฤษภาคม -30 มิถุนายน 2547 )
ภาพ : S.H.A.N.