นายพล เนวิน อดีตตผู้นำที่ประชาชนในพม่าลืมไม่ลง

คอลัมน์รู้จักคนดังฉบับนี้ขอแนะนำให้รู้จักบุคคลสำคัญซึ่งปกครองประเทศพม่าหลังจากได้รับเอกราชจากอังกฤษยาวนานถึง ๒๖ ปี(ค.ศ.๑๙๖๒-๑๙๙๘) เขาเป็นผู้ปกครองที่ทำให้ประเทศพม่าซึ่งเคยส่งออกข้าวเป็นอันดับหนึ่งของโลก กลายเป็นประเทศที่ยากจนที่สุดในโลกด้วยนโยบายสังคมนิยมตามแบบฉบับของตนเอง เป็นผู้วางรากฐานระบอบการปกครองทหารในประเทศพม่าให้แข็งแกร่งเกรียงไกร และปัจจุบัน เขายังเป็นผู้นำที่หลายคนเชื่อว่า อยู่เบื้องหลังหรือเป็นเงาร่างระบอบเผด็จการทหารพม่าชุดปัจจุบัน เขาผู้นี้มีชื่อว่านายพลเนวิน

นายพลเนวินมีชื่อเดิมว่า ชู หม่อง เกิดเมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ค.ศ.๑๙๙๑ ปัจจุบันอายุ ๙๑ ปี เข้าเรียนมหาวิทยาลัยย่างกุ้งได้เพียงสองปีก็สอบไม่ผ่าน เลยออกไปทำงานด้านไปรษณีย์ เริ่มเป็นทหารเมื่ออายุ ๓๐ ปี เข้าร่วมเป็นหนึ่งในกลุ่ม"สามสิบสหาย"( 30 comrades ) พร้อมกับนายพล ออง ซาน บิดาของนางออง ซาน ซูจี ฝึกการรบที่เกาะไหหลำภายใต้การช่วยเหลือของญี่ปุ่น เพื่อขับไล่อังกฤษอกจากพม่า ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

นายพลเนวินได้รับการเลื่อนฐานะและตำแหน่งทางการทหารอย่างรวดเร็ว จนได้ขึ้นเป้ฯผู้นำสูงสุดของกองทัพพม่าในปี ค.ศ.๑๙๔๙ หลังจากเริ่มเป็นทหารเพียง ๘ ปี
มีบุคลิกกล่าวถึงบุคลิกส่วนตัวของนายพลท่านนี้ว่ามีนิสัยโน้มเอียงไปในทางก้าวร้าวตั้งแต่เด็ก เช่น เมื่อครั้งยังเป็นเด็กนักเรียนชั้นประถม เขาเคยพยายามที่จะเผาโรงเรียนของตัวเองเนื่องจากไม่ชอบไปโรงเรียน และบุคลิกนี้ได้ค่อย ๆ พัฒนามากขึ้นเมื่อก้าวสู่อาชีพทหาร โดยเพาะหลังผ่านการฝึกหลักสูตรตำรวจลับร่วมกับกลุ่มสหายสามสิบในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

หลังจากขึ้นเป็นผู้นำสูงสุดของกองทัพพม่าปี ค.ศ.๑๙๔๙ และพัฒนาระบบหน่วยข่าวกรองของกองทัพเรือ MIS (Military Intelligence Services ) จนแข็งแกร่งและกลายเป็นรากฐานของอำนาจเผด็จการทหารในประเทศพม่ามาจนถึงปัจจุบัน

ขณะที่กองทัพภายใต้การนำของนายพลเนวินเริ่มเข้มแข็งมากขึ้น อูนุ ผู้นำรับบาลฝ่ายพลเรือนกลับอ่อนแอลงเรื่อย ๆ และมาสามารถรักษาความสงบเรียบร้อยของประเทศไว้ได้ ในปี ค.ศ.๑๙๕๘ อูนุจึงขอให้ทหารเข้ามาปกครองประเทศชั่วคราว โดยตั้งเป็นรัฐบาล "รักษาการ" อยู่สองปี เพื่อเตรียมการเลือกตั้งใหม่ แต่หลังจาก อูนุ กลับเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งในปี ค.ศ๑๙๖๐ อีกสองปีต่อมา นายพลเนวินก็ทำการรัฐประหารยึดอำนาจจากอูนุ และเริ่มปกครองประเทศพม่าต่อมาอีกยาวนานถึง ๒๖ ปี
หลังจากนายพลเนวินเริ่มปกครองประเทศ เขาได้วางหลักการ"เส้นทางพม่าสู่สังคมนิยม" โดยดึงหลักทฤษฎีต่าง ๆ เข้ามาผสมกันจนกลายเป็นแบบฉบับของตนเอง ประกาศปิดประเทศ ระมัดระวังการติดต่อขอความช่วยเหลือจากต่างประเทศ จนทำให้ประเทศพม่าถูกขนานนามว่า"ฤาษีแห่งเอเชีย"

นโยบายแรกที่นานพลเนวินประกาศใช้และสร้างผลกระทบครั้งใหญ่กับระบบเศรษฐกิจของพม่าคือการเข้ายึดกิจการต่าง ๆ ของภาคเอกชนเป็นของรัฐ ตั้งแต่วันที่ ๑ สิงหาคม ค.ศ.๑๙๖๒ หลังจากนั้นได้จัดตั้งองค์กรของรัฐขึ้นมาดำเนินการเกี่ยวกับการสั่งเข้าและจำหน่ายสินค้า การยึดกิจการต่างๆ เป็นของรัฐในเวลาอันรวดเร็วทำให้การขาดแคลนสินค้าถีบตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและตลาดมืดเริ่มขยายตัวมากขึ้น ทางด้านพรรคการเมืองและหนังสือพิมพ์ รัฐได้เริ่มเข้าควบคุมและออกกฎหมายขึ้นมาชื่อว่า กฎหมายเพื่อปกป้องความสามัคคีแห่งชาติ ส่งผลให้ข้าวสารต่างๆ ในประเทศพม่าถูกปิดกั้นนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

และนโยบายที่ทำให้ประชาชนประเทศพม่าแทบทุกคนลืมไม่ลงคือการประกาศยกเลิกธนบัตรราคา ๑๐๐ ๗๕ ๒๕ ๓๕ และ ๔๕ จั๊ต อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ธนบัตรดังกล่าวมีค่าเป็นเพียงกระดาษเปล่าและประชาชนพม่ากลายเป็นคนยากจนในชั่วพริบตา เห็นได้จากตัวเลขความเจริญทางเศรษฐกิจของพม่า ซึ่งเคยเป้ฯประเทศที่ส่งออกข้าวอันดับหนึ่งกลายเป็นประเทศที่ยากจนที่สุดในโลกไปในที่สุด

ความกดดันทางเศรษฐกิจและการปกครองประเทศที่ผิดพลาดดังกล่าวได้นำไปสู่การลุกฮือประท้วงครั้งใหญ่ของนักศึกษาและประชาชนในปี ๑๘๘๘ กระแสกดดันดังกล่าวทำให้นายพล เนวินจำใจต้องยอมลงจากตำแหน่งผู้ปกครองประเทศพม่า ซึ่งครอบครองมานานถึง ๒๖ ปี